bookmark_border‘ภาวะหัวใจล้มเหลว’ เกิดจากอะไร

อาการป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะสามารถทำอันตรายถึงแก่ชีวิต ทุกคนจึงควรที่จะหันมาใส่ใจและรู้ทันโรคหัวใจ เพื่อดูแลป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว และทำให้หัวใจของคุณแข็งแรงกันดีกว่า

“ภาวะหัวใจล้มเหลว” เกิดจากอะไร?
ภาวะหัวใจล้มเหลว มีสาเหตุมาจากการที่หัวใจทำงานผิดปกติไม่ตอบรับหรือตอบสนองต่อความต้องการของร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจตกอยู่ในภาวะขาดเลือดจนถึงขั้นที่เรียกว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ประกอบกับป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ นอกจากนี้การติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจก็เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการสูบฉีดเลือดน้อยลง จนส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ และไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้เป็นปกติ จนเป็นเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ในที่สุด

สัญญาณอันตราย “หัวใจล้มเหลว”
ก่อนที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว จะมีอาการแสดงออกมาซึ่งเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกว่าคุณกำลังเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) โดยอาจจะปรากฏอาการเพียงอาการเดียวหรือหลายๆ อาการร่วมด้วย ได้แก่
1. รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

2. รู้สึกอึดอัด หายใจลำบากเมื่อออกกำลังกาย

3. หายใจลำบากเมื่อนอนหงาย

4. มีการตื่นกลางดึกเพราะไอหรือหายใจลำบาก

5. ขา ข้อเท้า เท้าหรือตัวบวมจากภาวะคั่งน้ำ

6. เวียนศีรษะ หน้ามืดบ่อย

7. เข้าห้องน้ำบ่อยตอนกลางคืน

ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้แล้ว คงจะรู้สึกกังวลใจไม่น้อย อย่างไรก็ตามหากเรามีการใส่ใจดูแลตนเองมากๆ ก็จะสามารถห่างไกลจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้ และวิธีดูแลตัวเองก็สามารถทำได้ ดังนี้
1. ควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

2. เลี่ยงกินเค็ม ด้วยการไม่เติมเกลือ น้ำปลา หรือซอสเพิ่มไปในอาหาร เลี่ยงเกลือโซเดียม อาหารรสเค็ม อาหารกระป๋อง ของหมักดอง อาหารสำเร็จรูปทุกชนิด อาหารเค็มจะทำให้น้ำคั่งในร่างกายมากขึ้น

3. งดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการทำงานของหัวใจและทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม

4. จัดการความเครียด ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทำสมาธิ ท่องเที่ยว

5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที คนที่เป็นโรคหัวใจต้องดูแลตัวเองให้ดี ได้แก่ หากน้ำหนักลดเร็ว ควรกินอาหารที่ย่อยง่ายๆ ครั้งละไม่มากแต่บ่อย เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร ชั่งน้ำหนักตัวเองและทำการจดบันทึกไว้เสมอ ถ้าน้ำหนักเพิ่ม 1 กิโลกรัม ภายใน 1-2 วัน อาจบ่งบอกว่าเกิดภาวะการคั่งน้ำควรปรึกษาแพทย์ทันที หากมีอาการบวม กดบุ๋มให้รีบพบแพทย์ทันที แต่หากเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบาย ควรงดออกกำลังกาย

6. งดอาหารที่มีรสเค็ม

7. ทานยาสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง หากเกิดอาการผิดปกติปรึกษาแพทย์ทันที และพบแพทย์ตามนัด

8. เลี่ยงเดินทางไกลหรือนั่งเป็นเวลานาน ไม่เดินทางตามลำพัง และไม่โดยสารเครื่องบิน